วันเสาร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2555

การบันทึกประจำวัน

ประจำวันที่ 28 กันยายน 2555

อาจารย์ให้นักศึกษาคิดวิเคราะห์ในเรื่องของ แท็ปเล็ต (Tablet)
ภายในเวลา 20 นาที 
จุดประสงค์ที่อาจารย์ให้เขียน  คือ
เพื่อเป็นการสังเกตว่า สิ่งที่อาจารย์เคยได้สอนไปที่เกี่ยวโยงกับเรื่องของ การแต่งคำขวัญเลิกเหล้าไปแล้วนั้น นักศึกษายังสามารถจำได้หรือไม่ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้หรือปล่าว




สำหรับเด็กอายุ 6-7 ปี
เป็นเด็กที่อยู่ในวัยเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
ควรพัฒนาทักษะทุกอย่างรอบด้าน เช่น
ทักษะการใช้กล้ามเนื้อมือในการขีดเขียน ทักษะการฟัง ทักษะการเคลื่อนไหว
ทักษะทางสังคม เช่น การรู้จักรอคอย การแบ่งปัน
ซึ่งต้องอาศัยการสื่อสารสองทาง (Two Ways Communications)
ส่วนเรื่องทักษะด้านภาษา การขีดเขียน เป็นสิ่งที่ต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งเด็กวัยนี้ต้องการ การเรียนรู้ผ่านปฏิสัมพันธ์กับบุคคลจริง
อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวถึง การใช้ แท็บเล็ท (Tablet)
เพื่อการส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก ว่า แท็บเล็ท
เป็นสื่อทันสมัย ช่วยเปิดโลกแห่งการเรียนรู้ให้กว้างขึ้น
เป็นทางเลือกใหม่ในการใช้สื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง ทั้งพ่อแม่ ครู
และนักเรียน ช่วยให้เด็กได้ฝึกประสบการณ์ทางภาษา
มีประสบการณ์เรื่องเทคโนโลยี การฝึกคิดสร้างสรรค์ เกิดความสนใจใฝ่รู้
แต่จำเป็นที่ทุกคนต้อง รู้เท่าทัน ว่า- แท็บเล็ท (Tablet) เป็นของเล่นอิเล็กทรอนิกส์
เครื่องเล่นเกมอิเล็กทรอนิกส์แบบพกพารุ่นใหม่
หรือเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีความสามารถในการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ในด้านต่างๆ
ให้กับเด็ก
- เป็นแหล่งเข้าถึงข้อมูล ห้องสมุดในโรงเรียน หอสมุดแห่งชาติ
หรือห้องสมุดสาธารณะขนาดใหญ่ที่ไม่มีเวลาปิดทำการ
เป็นห้องเรียนสำหรับเด็กในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลระหว่างเพื่อนทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ตลอดจนเป็นพื้นที่ของการถกเถียงแลกเปลี่ยนความรู้ของกลุ่มเด็กๆ
ที่สนใจเรื่องเดียวกัน
- เป็นอุปกรณ์พกพาที่เป็นพื้นที่ส่วนตัวของเด็ก หรือพื้นที่เล็กๆ
ที่ครอบครัวจะใช้เวลาเรียนรู้การใช้งานและสร้างกิจกรรมร่วมกันในครอบครัวโดยใช้
แท็บเล็ท (Tablet) เป็นเครื่องมือ
- เป็นอุปกรณ์เชื่อมต่อเครือข่ายสังคมออนไลน์
เพื่ออัพโหลดรูปภาพส่วนตัว บอกเล่าชีวิตประจำวันในพื้นที่สาธารณะ
ซึ่งต้องเตรียมความพร้อมให้เด็กเข้าใจการใช้พื้นที่สาธารณะร่วมกัน
- เป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ลดปริมาณกระดาษ
ลดน้ำหนักของกระเป๋าหนังสือ
เป็นเหมือนหนังสือมีชีวิตที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆ อย่างเป็นระบบ
สามารถโต้ตอบผู้อ่านได้ หรือเป็นพื้นที่ในการแสดงความสร้างสรรค์ของเด็กๆ
เช่น หนังสั้น มิวสิกวิดีโอ แอนิเมชัน บทเรียนออนไลน์ เป็นต้น
ตลอดจนสามารถทำให้กลายเป็นห้องสมุดที่สะสมหนังสือน่าอ่านไว้ได้มากมาย
- เป็นที่เก็บแอพพลิเคชันล้ำสมัย
เพื่อบ่งบอกถึงความทันสมัยของเจ้าของ
หรือเป็นที่เก็บแอพพลิเคชันที่จำเป็นต่อการทำงาน การพัฒนาผลงาน
และโอกาสในการพัฒนาต่อยอดแอพพลิเคชันต่อไป
เพื่อให้เกิดการใช้ แท็บเล็ท อย่างสร้างสรรค์ ไม่เกิดโรคติดแท็บเล็ท
อย่างที่หลายฝ่ายเป็นห่วงกัน อธิบดีกรมสุขภาพจิต มีข้อแนะนำ ดังนี้
ข้อแนะนำสำหรับครู
- ต้องมีความพร้อมและรู้เท่าทันเทคโนโลยี ตลอดจนต้องเตรียมการเรียนการสอนเพิ่มขึ้น
- ต้องจัดสิ่งแวดล้อมที่จูงใจและเสริมแรงให้เกิดการเรียนรู้
- จัดกิจกรรมและสถานการณ์ให้เด็กได้แสดงออกและคิดอย่างสร้างสรรค์
ส่งเสริมให้นักเรียนฝึกคิดและทำ
- ต้องใช้แหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายมากขึ้น
ข้อแนะนำสำหรับ พ่อแม่ ผู้ปกครองTablet มีประโยชน์มากมายมหาศาล แต่อาจกลายเป็นพิษ สำหรับลูกหลานได้
หากไม่มีการดูแลกำกับการใช้ เด็กอาจถูกบั่นทอนสุขภาพ ใช้ Tablet เพลิน
จนไม่กิน ไม่นอน นิ้ว-คอเคล็ด ไม่อยากวิ่งเล่น เขียนหนังสือ
หรือทำกิจกรรมสร้างสรรค์อื่นๆ ที่สำคัญ อาจเกิดโรคติด Tablet
ซึ่งการปฏิเสธเทคโนโลยี ไม่ให้เด็กเข้าไปเกี่ยวข้องโดยเด็ดขาด
เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำและเป็นไปได้ยากมากในยุคที่เด็กต้องเติบโตท่ามกลางกระแสการไหล่บ่าของเทคโนโลยี
ดังนั้น สิ่งที่พ่อแม่ ผู้ปกครอง จะทำได้ คือ ต้องติดอาวุธทางความคิด
(ปัญญา) และสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกหลานให้สามารถอยู่กับเทคโนโลยีได้อย่างฉลาดรู้


ค้นคว้าเพิ่่มเติม

อัพเดตข่าวล่าสุดของ Tablet สำหรับเด็กไทย

APR
รุปแล้วตอนนี้เค้าก้มีมติเห็นชอบกันไปแล้ว แน่นอนว่าบริษัทที่ได้รับเลือกการเป็นคนผลิตก้คือ บริษัท เซิ่นเจิ้น สโคป ไซแอนทิฟิก ดีเวลลอปเมนต์ จริงๆแล้วที่พี่แกได้งานนี้ไปเพราะประมูลไปได้ในราคาต่ำสุดนั่นเอง ดูเหมือนราคากลางเค้าจะวางเอาไว้ที่ 3100 บาท แต่บริษัท เซิ่นเจิ้น ประมูลไปที่ 2400 บาท(จริงๆแล้วแพงหน่อยผมก้่ไม่ว่านะเอาให้่มั่นใจว่าไม่โดนย้อนแมวนะ)
ทางรัฐบาลคิดว่าประมาณเดือน พค.นี้หรืออีกสองเดือนสินค้าล้อตแรกจะพร้อมเข้ามาให้ได้ใช้งานดูเหมือนจะ ประมาณ 86000 เครื่อง มีสิ่งนึงที่แอบหวั่นใจก้คือการตกลงการทำสัณญาฉบับนี้ทางการจีนเค้าไม่รับ ผิดชอบให้นะครับหากมีปัญหาอะไรขึ้นมา แต่เค้าก้รับปากให้ว่าจะคอยติดตามเรื่องให้เท่านั้น สรุปถ้าโดนชิ่ง หรือหนีการรับประกันคงจะต้องทำใจได้เลย เสี่ยงเหมือนกันนะ (เอ๊ะหรือไม่เสี่ยงเพราะคิดว่ามั่นใจดีแล้ว)
* การซื้อครั้งนี้ไทยไม่ได้ซื้อกับรัฐบาลจีนนะครับ ไปซื้อกับบริษัทโดยตรง จีนไม่มีนโยบายไปการันตีให้บริษัทเอกชน
สำหรับอีกหนึ่งข้อหนักใจเกี่ยวกับการใช้งานจริงๆเพราะจะต้องมีการนำเนื้อหา วิชาการสำหรับเด็กๆใส่ลงไปใน Tablet ทางรัฐบาลก้ยังยืนยันว่าพร้อมอยู๋แน่นอนและจะมีถึง 8 วิชาไม่ใช่ 5 วิชาตามข่าวลือ (อืม…แบบนี้พอรับได้ อยากให้พร้อมนะ ผมว่าก้มีประโยชน์นะ) MICT
สำหรับ Spec ก้คือ หน้าจอมีขนาด 7 นิ้วรันบนซีพียูแบบ Dual Core ไม่ต่ำกว่า 1 GHz มีหน่วยความจำในเครื่องไม่น้อยกว่า 16 GB มี Ram ไม่น้อยกว่า 512 MB ถึงแม้จะมาพร้อม Android 3.2 แต่สุดท้ายแล้วต้องอัพเป็น Android 4.0 ให้ได้ด้วย


การบันทึกประจำวัน

ประจำวันที่ 21 กันยายน 2555

วันนี้อาจารย์ได้ตรวจความเรียบร้อยของ blog นักศึกษา และให้นักศึกษาคนใดที่ยังไม่ได้ลิงค์บล็อกของอาจารย์ ก็ให้รีบมาทำให้เรียบร้อย 
และได้สรุปสาระการเรียนรู้จากการที่เราได้ทำ blog  ว่าเราได้ประโยชน์ด้านใดบ้าง



.....................................................................................................



การบันทึกประจำวัน

ประจำวันที่ 14 กันยายน 2555

อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มที่ยังไม่ได้ร้องเพลง ออกมาร้องเพลงให้ครบ 

ต่อมาอาจารย์ให้นักศึกษาออกมาเล่านิทานโดยใช้เทคนิคต่างๆ

กลุ่มของดิฉันได้ การเล่านิทานแบบ เล่าไปพับไป

นิทานเล่าไปพับไปเรื่อง น้องนิดอยากไปเที่ยวทะเล






ค้นคว้าเพิ่มเติม

มาดูวิธี "เล่าไปพับไป" เทคนิคเปลี่ยนนิทานให้มีชีวิต




     













ความสุขของ "การอ่าน" อยู่ที่การต่อเติมความคิดจากภาพที่เห็น โดยเฉพาะเด็กเล็ก การที่พ่อแม่อ่านนิทานภาพให้ฟังถือเป็นความสุข และความตื่นเต้นที่ได้เห็นภาพความน่ารักของตัวละคร ไม่ว่าจะคน หรือสัตว์ แต่ในบางครั้งการเล่าให้ฟังอย่างเดียว อาจไม่น่าตื่นเต้นสำหรับเด็กในยุคใหม่นี้เสียแล้ว

     
       วันนี้ ทีมงาน Life and Family จึงมีตัวช่วยในการเล่านิทานให้น่าสนใจมาฝากกัน โดย คุณชัยฤทธิ์ ศรีโรจน์ฤทธิ์ หรือ พี่มู บรรณาธิการสำนักพิมพ์ Hello Kids นักเขียน และนักเล่านิทาน บอกว่า เป็นการเล่านิทานแบบ "เล่าไปพับไป" โดยใช้กระดาษ 1 แผ่นที่ตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสมาพับเป็นรูปต่าง ๆ แล้วเล่าเป็นเรื่องราวประกอบการพับในแต่ละขั้นตอน โดยกระดาษ 1 แผ่น สามารถเปลี่ยนเป็นอะไรก็ได้มากมายตามแต่จิตนาการของพ่อแม่ และสถานที่ที่กำลังเล่า
     
       ยกตัวอย่างเช่น กระดาษสี่เหลี่ยมอาจจะกลายเป็นทะเล ทุ่งนา หรือพอนำมาพับครึ่งให้เป็นรูปสามเหลี่ยมก็เป็นภูเขา ขึ้นอยู่กับจินตนาการ และประสบการณ์ในอดีตที่ผ่านมาของเด็ก โดยตอนจบของนิทาน จากกระดาษสี่เหลี่ยม 1 แผ่นที่เด็กคิดตาม ก็จะถูกเฉลยกลายเป็นรูปร่างต่างๆ สุดมหัศจรรย์
     
       "การเล่านิทานนั้น นอกจากจะเล่าด้วยเสียงอย่างเดียวแล้ว คุณครู คุณพ่อ และคุณแม่อาจใช้ตัวช่วยนี้ให้เด็กได้คิด หรือจินตนาการด้วยตัวเอง ทำให้เด็กตื่นเต้น และสนุกไปกับตอนจบของเรื่องว่ากระดาษ 1 แผ่น จะออกมาเป็นรูปร่างอะไร" นักเล่านิทานเด็กรายนี้บอก
     
       อย่างไรก็ตาม ตัวช่วยนี้ พ่อแม่ทุกคนสามารถนำไปใช้เป็นกิจกรรมเล่าไปพับไปกับลูกได้ ไม่ควรไปกังวลในเรื่องของการพับกระดาษมากจนเกินไป แต่ค่อยๆ เรียนรู้ไปพร้อมๆ กับลูก หรืออาจจะพับกระดาษเป็นตัวรูปสัตว์ไว้ก่อน แล้วนำมาประกอบการเล่า ก็ดูน่าสนใจไม่น้อย
อ.สายใจ เจริญรื่น ผู้เชี่ยวชาญด้านการพับกระดาษ
       ด้าน อ.สายใจ เจริญรื่น ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องการพับกระดาษ 2 มิติ และ 3 มิติบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า หากพ่อแม่เล่า และสร้างนิทานเป็นเรื่องราวจากการพับหน้ากระดาษจนเกิดเป็นรูปร่างต่างๆ เช่น ตัวคน หรือสัตว์ที่อยู่ในนิทาน จะเป็นตัวกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ให้กับลูกน้อยได้เป็นอย่างดี เนื่องจากในบางครั้ง การอ่านอย่างเดียวไม่เพียงพอ เพราะลูกจะได้แต่จินตนาการ แต่หากได้ลงมือประดิษฐ์ตัวละครง่ายๆ ไปพร้อมๆ กับการเล่าของพ่อแม่ด้วยตัวเอง น่าจะทำให้ลูกสนุก และฝึกพัฒนาการด้านอื่นๆ ไปด้วย
       
       "ศิลปะการพับกระดาษ นอกจากพับเพื่อความสนุก และความเพลิดเพลินแล้ว คุณพ่อคุณแม่สามารถนำมาประยุกต์ให้เกิดความสุขประกอบการเล่าให้ลูกฟังได้ด้วย ซึ่งแทนที่จะเล่านิทานให้ลูกฟังเหมือนอย่างเคย ลองเปลี่ยนมาใช้วิธีพับกระดาษประกอบเรื่องดู น่าจะดึงดูดลูกให้ชื่นชอบกับการอ่านไม่น้อย" ผู้เชี่ยวชาญด้านการพับกระดาษกล่าว
       
       สำหรับพ่อแม่ที่สนใจ และอยากจะลองเล่าไปพับไปกับลูก ผู้เชี่ยวชาญท่านนี้แนะนำว่า พ่อแม่ควรศึกษารูปแบบ และวิธีการพับมาก่อน เมื่อมีความรู้เรื่องการพับแล้ว ควรสนุกกับการเล่า และการพับ ไม่ควรไปเครียด หรือกังวลว่าจะพับออกมาไม่สวย หรือเวลาที่ลูกพับไม่ได้ เป็นหน้าที่ของพ่อแม่ที่จะเข้าไปช่วยลูก ซึ่งนับว่าเป็นกิจกรรมครอบครัวที่ดีอย่างหนึ่ง เป็นการร่วมมือกันระหว่างพ่อแม่ลูก สร้างความสัมพันธ์ และความผูกผันระหว่างครอบครัวให้มีมากขึ้น
       
       "การพับกระดาษจะช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อมือ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการฟื้นฟูสภาพการทำงาน และการควบคุมการเคลื่อนไหวของมือ เป็นการออกกำลังอวัยวะส่วนมือ นิ้วมือ และควบคุมสภาพจิตใจให้มีสมาธิได้เป็นอย่างดี" ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการพับกระดาษบอกถึงประโยชน์ของการพับกระดาษ

....................................................
       
   



การบันทึกประจำวัน

ประจำวันที่ 7 กันยายน 2555

วันนี้อาจารย์แจกสีไม้และแผ่นประดิษฐ์อักษร คนละ 1 กล่อง
















อาจารย์สรุปเรื่องของภาษา เริ่มจาการสัมภาษณ์และการวิเคาะห์ทางภาษาของเด็ก
สื่อที่ใช้ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านภาษา เช่น นิทาน เพลง กิจกรรมต่างมากมาย  ฯลฯ



.......................................................



การบันทึกประจำวัน

ประจำวันที่ 31 สิงหาคม 2555

วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอ เพลงที่กลุ่มตัวเองได้เป็นคนแต่งเอง พร้อมท่าและทำนอง อีกทั้ง ต้องสอนให้เพื่อนทั้งห้อง ร้อง และ ทำท่าท่างประกอบเพลงได้อีกด้วย โดยที่อาจารย์จะถ่าย VDO เก็บไว้อีกด้วย

เพลงของกลุ่มดิฉัน ชื่อว่า เพลง ยิ้ม

ทำนอง:เพลง ช้าง
คำร้อง:สมาชิกในกลุ่ม



แนวคิดในการแต่งเพลง คือ
การที่เด็กได้ร้องเพลงนี้ เป็นการเสริมทักษะในการเข้าสังคมและการอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ดี

อาจารย์ให้นักศึกษาคิดคำขวัญเลิกเหล้า

กลุ่มดิฉัน = โตมาด้วยน้ำนมแม่ อย่าให้แย่เพราะน้ำเมา
แล้วอาจารย์ ก็ให้นักศึกษาปรับสิ่งที่มีอยู่ให้ดูน่าสนใจ 
= คุณคะ!!! โตมาด้วยน้ำนมแม่ อย่าให้แย่เพราะน้ำเมา

สรุปกิจกรรมนี้สามารถนำไปปรับใช้ในการเรียนการสอนได้ คือ
เมื่อเราจะทำงานอะไร เราต้องรู้จักหัวข้อ และสิ่งที่สำคัญที่สุด คือ จุดประสงค์ ในการทำงานๆนั้นคืออะไร เพราะอะไรเราต้องทำงานนั้นขึ้นมา


................................................................................




การทำกิจกรรมการเล่านิทานเล่มเล็ก


วันที่ 27 กรกฎาคม 2555
อาจารย์ให้นักศึกษาออกมานำเสนอรายงาน เรื่อง พัฒนาการทางด้านภาษาของเด็กวัย 4 ขวบ




จากการที่ได้เล่านิทานให้น้องฟัง จึงสรุปได้ว่า

ช่วงแรกที่เข้าไปน้องยังไม่กล้าคุยด้วยเพราะยังไม่คุ้นเคย จึงทำให้กลุ่มดิฉันต้องเริ่มชวนน้องเล่นด้วยก่อน เพื่อเป็นการทำคุ้นเคยกับน้องก่อน จึงทำให้น้องเริ่มกล้าที่จะคุยด้วย และเมื่อถามอะไร น้องก้สามารถตอบได้ดี 

ค้นคว้าเพิ่มเติม
พัฒนาทางภาษาของเด็กปฐมวัย

พัฒนาการภาษาพูด มีลำดับขั้น ตั้งแต่วัยทารก จนสิ้นสุดระยะวัยเด็กตอนต้น ดังนี้
ขั้นที่ 1 ขั้นปฏิกิริยาสะท้อน (Reflexive Vocalization)
การใช้ภาษาของเด็กในระยะนี้ คือ ตั้งแต่คลอดถึงอายุหนึ่งเดือนครึ่ง เป็นแบบปฏิกิริยาสะท้อนเทียบเท่ากับภาษาหรือการสื่อความหมายของสัตว์ประเภทอื่นๆ เสียงนี้เป็นไปโดยอัตโนมัติและไม่มีความหมายในขั้นแรก แต่เมื่ออายุราวหนึ่งเดือนล่วงแล้ว ทารกอาจเปล่งเสียงต่างกันได้ตามความรู้สึก เช่น ชอบ ไม่ชอบ ง่วง หิว ฯลฯ
ขั้นที่ 2 ขั้นเล่นเสียง (Babbling Stage)
อายุเฉลี่ยของทารกในขั้นนี้ ต่อจากขั้นที่ 1 จนถึงอายุราว 8 เดือน อวัยวะในการเปล่งเสียงและฟังของทารก เช่น ปาก ลิ้น หู เริ่มพัฒนามากขึ้น เป็นระยะที่ทารกได้ยินเสียงผู้อื่นและเสียงตนเอง สนุกและสนใจลองเล่นเสียง (Vocal Play) ที่ตนได้ยิน โดยเฉพาะเสียงของตนเอง แต่เสียงที่เด็กเปล่งก็ไม่มีความหมายในเชิงภาษา ระยะนี้ทารกทุกชาติทำเสียงเหมือนกันหมด แม้เสียงที่เด็กเปล่งยังคงไม่เป็นภาษา แต่ก็มีความสำคัญในกระบวนการพัฒนาการพูด เพราะเป็นระยะที่เด็กได้ลองทำเสียงต่างๆทุกชนิด เปรียบเสมือนการซ้อมเสียงซอของนักสีซอก่อนการเล่นซอที่แท้จริง
ขั้นที่ 3 ขั้นเลียนเสียง (Lalling Stage)
ระยะนี้ทารกอายุประมาณ 9 เดือน เขาเริ่มสนุกที่จะเลียนเสียงผู้อื่น นอกจากเล่นเสียงของตนเอง ระยะนี้ประสาทรับฟังพัฒนามากยิ่งขึ้น จนสามารถจับเสียงผู้อื่นพูดได้ถี่ถ้วนยิ่งขึ้น ประสาทตาจับภาพการเคลื่อนไหวของริมฝีปากได้แล้ว จึงรู้จักและสนุกที่จะเลียนเสียงผู้อื่น ระยะนี้เขาเลียนเสียงของตัวเองน้อยลง การเลียนเสียงผู้อื่นยังผิดๆถูกๆและยังไม่สู้จะเข้าใจความหมายของเสียงที่เปล่งเลียนแบบผู้ใหญ่ เด็กหูหนวกไม่สามารถพัฒนาทางด้านภาษามาถึงขั้นนี้ ขั้นนี้เป็นระยะที่ทารกเริ่มพูดภาษาแม่ของตน
ขั้นที่ 4 ขั้นเลียนเสียงได้ถูกต้องยิ่งขึ้น (Echolalia)
ระยะนี้ทารกอายุประมาณ 1 ขวบ ยังคงเลียนเสียงผู้ที่แวดล้อมเขา และทำได้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น เลียนเสียงตัวเองน้อยลง แต่ยังรู้ความหมายของเสียงไม่แจ่มแจ้งนัก
ขั้นที่ 5 ขั้นเห็นความหมายของเสียงที่เด็กเลียน (True Speech)
ระยะนี้ทารกอายุตั้งแต่ 1 ขวบขึ้นไป ความจำ การใช้เหตุผล การเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งที่ทารกได้รู้เห็นพัฒนาขึ้นแล้ว เช่น เมื่อเปล่งเสียง “แม่” ก็รู้ว่าคือ ผู้หญิงคนหนึ่งที่อุ้มชูดูแลตน การพัฒนามาถึงขั้นนี้เป็นไปอย่างบังเอิญ (ไม่ได้จงใจ) แต่ต่อมาจากการได้รับการตอบสนองที่พอใจและไม่พอใจ ทำให้การเรียนความสัมพันธ์ของเสียงและความหมายก้าวหน้าสืบไป
ในระยะแรก เด็กจะพูดคำเดียวก่อน ต่อมาจึงจะอยู่ในรูปวลีและรูปของประโยค ตั้งแต่ยังไม่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ ไปจนถึงถูกหลักไวยากรณ์ของภาษานั้นๆ นักภาษาศาสตร์ได้ทำ การวิจัยทางเด็กที่พูดภาษาต่างๆทั่วโลก เห็นพ้องต้องกันว่า พัฒนาการทางภาษาตั้งแต่ขั้นที่หนึ่งถึงห้าข้างต้นอยู่ในระยะวัยทารก ส่วนระยะที่เด็กเข้าใจภาษาและใช้ภาษาได้อย่างอัตโนมัติเหมือนผู้ใหญ่นั้น อยู่ในระยะเด็กตอนต้นหรือช่วงปฐมวัยนั่นเอง ซึ่งพัฒนาการทางภาษาที่น่าสนใจก็คือ ความยาวของประโยค ยิ่งเด็กโตขึ้นก็จะยิ่งสามารถพูดได้ประโยคยาวขึ้น ซึ่งเป็นการบ่งบอกถึงความสามารถทางการใช้ภาษาของเด็กได้เป็นอย่างดี

นอกจากนี้ หากจะพิจารณารูปแบบของพัฒนาการทางภาษาในรูปแบบเชิงพฤติกรรม สามารถอธิบายเกี่ยวกับพัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัยแบ่งออกได้เป็น 7 ระยะ ดังนี้ คือ
1. ระยะเปะปะ (Random Stage) อายุตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 เดือน ในระยะนี้พบว่าเด็กมี
การเปล่งเสียงอย่างไม่มีความหมาย
2. ระยะแยกแยะ (Jergon Stage) อายุ 6 เดือน ถึง 1 ปี ในระยะนี้เด็กจะเริ่มแยกแยะ
เสียงที่เขาได้ยินในสภาพแวดล้อมและแสดงอาการจดจำเสียงที่ได้ยินได้ เด็กจะรู้สึกพอใจถ้าหากเปล่งเสียงแล้วได้รับการตอบสนองทางบวก
3. ระยะเลียนแบบ (Imitation Stage) อายุ 1 ถึง 2 ปี เด็กวัยนี้สนใจและเริ่มเลียนแบบ
เสียงของเด็กที่เปล่งจะเริ่มมีความหมายและแสดงกิริยาตอบสนองการได้ยินเสียงของผู้อื่น
4. ระยะขยาย (The Stage of Expansion) อายุ 2 ถึง 4 ปี เด็กวัยนี้จะเริ่มหัดพูดเป็น
คำๆ ระยะแรกจะเป็นการพูดโดยเรียกชื่อคำนาม เรียกชื่อคนที่อยู่รอบข้าง สิ่งของต่างๆที่อยู่รอบตัว รวมทั้งคำคุณศัพท์ที่เด็กได้ยินผู้ใหญ่พูดกัน
5. ระยะโครงสร้าง (Structure Stage) อายุ 4 ถึง 5 ปี การรับรู้และการสังเกตของเด็กวัย
นี้ดีขึ้นมาก ทำให้เด็กได้สังเกตการณ์ใช้ภาษาของบุคคลที่อยู่รอบข้าง และนำมาทดลองใช้ประสบการณ์ที่เด็กได้รับ เช่น การฟังนิทาน ดูรายการโทรทัศน์ เป็นต้น
6. ระยะตอบสนอง (Responding Stage) อายุ 5 ถึง 6 ปี พัฒนาการทางภาษาของเด็ก
วัยนี้จะเริ่มสูงขึ้น เพราะเด็กจะเริ่มเข้าเรียนในโรงเรียนอนุบาล เด็กได้พัฒนาคำศัพท์เพิ่มขึ้น รู้จักการใช้ประโยคอย่างเป็นระบบตามหลักไวยากรณ์ การใช้ภาษามีแบบแผนมากขึ้น
7. ระยะสร้างสรรค์ (Creative Stage) อายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป เด็กจะพัฒนา
ความสามารถทางภาษาได้สูงขึ้น สามารถจดจำสัญลักษณ์ทางภาษาได้มากขึ้น สำหรับด้านการพูด สามารถใช้ถ้อยคำที่เป็นสำนวน หรือคำที่มีความหมายลึกซึ้งได้

ระยะของพัฒนาการทางภาษาแสดงให้เห็นว่า ก่อนที่เด็กจะสามารถพูดคำแรกออกมา เช่น “แม่” “ป้อ” ฯ จนกระทั่งสามารถพูดเป็นประโยคได้นั้น เด็กต้องผ่านกระบวนการสำคัญของพัฒนาการหลายขั้นตอน ทักษะทางภาษาขั้นแรกของเด็ก คือ การร้องไห้ แม้ว่าระยะแรกเด็กจะยังไม่สามารถพูดได้ แต่ไม่ใช่ว่าจะเป็นช่วงเวลาของการสูญเปล่า แต่เด็กกำลังฝึกการควบคุมกล้ามเนื้อปากและลิ้นให้ทำงานประสานกัน สังเกตเห็นได้จากทารกแบเบาะจะอ้าปาก ขยับปากบ่อยครั้ง รวมถึงแลบลิ้น เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการพูดในอนาคต ทักษะสำคัญอย่างหนึ่งของเด็กก่อนการพูด คือ การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ซึ่งกระบวนการนี้ เด็กเรียนรู้ตั้งแต่ช่วงแรกๆของชีวิต และเมื่อเด็กอายุประมาณ 3 เดือน เด็กก็สามารถใช้ภาษาท่าทางในการสื่อสารกับบุคคลอื่นได้ โดยอาจใช้วิธีการทำเสียงต่างๆประกอบ จากนั้นเมื่อเด็กโตขึ้น พัฒนาการทางด้านภาษาของเด็กก็จะเพิ่มมากขึ้น ทั้งในด้านการพูด การเรียนรู้คำศัพท์ เป็นต้น

 






สื่อปฏิทินเพื่อพัฒนาภาษาของเด็กปฐมวัย

สื้อปฏิทิน






...................................................................................