วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555

การบันทึกประจำวัน


ประจำวันที่ 29/มิถุนายน/2555

วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน
อาจาร์ได้สั่งงานให้นักศึกษา ไปทำรายงานที่ตัวเองได้รับมอบหมาย

พัฒนาการด้านภาษา

ช่วงอายุ 3-4 ปี เด็กส่วนมากจะสามารถพูดเป็นประโยคยาวๆ และค่อยๆ เล่าเรื่องอย่างเป็นเรื่องเป็นราวได้ที่อายุประมาณ 4 ปี คำพูดเกือบทั้งหมดมีความหมายชัดเจนที่อายุประมาณ 4 ปี หารเด็กได้รับการส่งเสริมพัฒนาการทางภาษามาอย่างต่อเนื่อง และไม่มีความล่าช้าทางพัฒนาการทางภาษาจากสาเหตุอื่นใด เด็กในช่วงวัยนี้จะมีความสามารถในการใช้ภาษาพูดสื่อสารได้เป็นอย่างดีใกล้ เคียงกับเด็กในวัยเรียนทั่วไป เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมต่อการพัฒนาทักษะในด้านการอ่าน เด็กควรรับการสอนให้คุ้นเคยกับคำพ้องเสียงPreschool-age-N5a โดยผ่านการฟังบทอาขยานสั้นๆ ง่ายๆ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษมีความคล้ายคลึงกันในส่วนที่ภาษาอ่านและเขียนโดยตั้ง อยู่บนหลักการของระบบเสียง (phonetics) คำแต่ลำคำจะประกอบด้วยเสียงย่อยต่างๆ ในสังคมที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักจึงมักส่งเสริมให้เด็กในวันี้ได้มีโอกาส เรียนรู้ทักษะก่อนการอ่าน ด้วยการฝึกหัดใช้ภาษาที่เป็นคำคล้องจอง ทำนองเดียวกับบทอาขยานของไทย ตั้งนี้ไม่ได้มีความหมายว่าเด็กวัยนี้ต้องอ่านหนังสือเป็น ผู้ใหญ่ สามารถเล่าเรื่องหรืออ่านให้ฟังหรือร้องเล่นเป็นทำนองเพลงก็สามารถช่วยให้ เด็กเรียนรู้พื้นฐานของระบบเสียงที่เกี่ยวข้องกับการอ่านได้ง่ายขึ้น ทักษะพื้นฐานทางภาษาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสติปัญญาจะรวมถึงความเข้าใจเรื่องของลำดับก่อนหลัง สิ่งที่เป็นนามธรรมมากขึ้น ได้แก่ สี ขนาด จำนวน แม้สิ่งต่างๆ เหล่านี้จะเรียนรู้ผ่านการท่องจำได้ แต่ถ้าขาดความเข้าใจพื้นฐานสำคัญ เด็กจะเรียนรู้ต่อเนื่องด้วยตนเองได้ยากลำบาก เช่น แม้เด็กจะท่องจำสีได้หลายสี แต่เมื่อเห็นสีอื่นซึ่งไม่เคยเห็นแต่มีลักษณะใกล้เคียงกับสีเดิม (เขียวอ่อนกับเขียวแก่) เด็กที่มีความเข้าใจอย่างถูกต้องตั้งแต่แรก จะสามารถเชื่อมโยงและบอกได้ถูกต้องมากกว่า
เด็กในช่วงวัย 3-4 ปี ที่มีพัฒนาการทางภาษาปกติ มักมีข้อสงสัยและคำถามมากมาย เมื่อเด็กซักถามสิ่งที่ตนเองสงสัย ผู้เลี้ยงดูควรพยายามตอบคำถามอย่างง่ายๆ สั้นๆ และกระตุ้นให้เด็กใฝ่รู้และค้นคว้าเพิ่มเติม ในกรณีที่เด็กถามซ้ำๆ เรื่องเดิม อาจหมายถึงความไม่เข้าใจของเด็ก การอธิบายซ้ำโดยใช้คำพูดที่ง่ายขึ้นหรือหาสื่ออื่นช่วยอธิบายประกอบ จะช่วยให้เด็กสามารถเข้าใจมากขึ้น ในบางกรณีเด็กที่เข้าใจคำตอบแล้วแต่ยังถามคำถามเดิมซ้ำๆ อาจสะท้อนถึงความกังวลหรือต้องการความสนใจจากผู้ใหญ่ ซึ่งผู้ที่เลี้ยงดูใกล้ชิดอาจพอบอกได้โดยการสังเกตพฤติกรรมอื่นร่วมดัวย
ช่วงอายุ 4-5 ปี เด็กส่วนใหญ่ในวัยนี้มักเข้าสู่ระบบการศึกษาและเริ่มเรียนรู้ทักษะทางภาษา อื่นๆ นอกจากภาษาพูด ได้แก่ ภาษาอ่าน ภาษาเขียน การสอนให้เด็กพัฒนาทักษะดังกล่าวไม่ควรเน้นที่การอ่านแบบท่องจำหรือเขียนให้ ถูกต้องสวยงาม ควรใช้วิธีการสอนที่เชื่อมโยงจากความเข้าใจเป็นพื้นฐาน เด็กที่มีทักษะด้านความจำหรือพูดโต้ตอบได้อย่างดี อาจใช้วิธีจำสัญลักษณ์หรือตัวหนังสือที่เขียนเป็นคำๆ แต่ผู้สอนไม่ควรละเลยการเรียนรู้เรื่องพื้นฐานระบบเสียงที่เชื่อมโยงกับ สัญลักษณ์ ซึ่งหมายถึงการสะกดคำอย่างง่ายๆ ซึ่งเป็นลักษณะที่คล้ายภาษาอังกฤษ ในโรงเรียนอนุบาลบางแห่งใช้การเล่นเกมส์เป็นวิธีสอนเด็ก เช่น ถ้าเด็กรู้จักเสียงพยัญชนะต้นง่ายๆ บางตัวแล้ว ก็ให้หัดกันแข่งขันสร้างคำจากเสียงพยัญชนะตัวนั้น เป็นต้น

ทักษะพื้นฐานที่สำคัญทางภาษาเพื่อการเรียนรู้อีกเรื่องหนึ่ง คือ จำนวนหรือตัวเลข แม้คณิตศาสตร์เป็นแขนงวิชาที่ต่างจากภาษาศาสตร์ แต่การเรียนรู้ในช่วงปฐมวัยจำเป็นต้องใช้ภาษาซึ่งเด็กพูดได้เป็นสื่อกลาง พ่อแม่หรือผู้สอนไทยควรมีความเข้าใจก่อนว่า พื้นฐานความเข้าใจในเรื่องของจำนวนหรือตัวเลขมีความสำคัญอย่างยิ่ง เด็กจำนวนมากอาจท่องจำ 1-10 หรือ 1-50 ได้ โดยชาดความเข้าใจเรียงลำดับ การเพิ่มจำนวน หรือแม้แต่เรื่องของจำนวนพื้นฐาน เด็กควรเรียนรู้หลักการของจำนวน 1-10 หรือ 20 ได้อย่างแม่นยำก่อนที่จะหัดบวกลบเลขจากโจทย์ ในชีวิตประจำวันเด็กควรถูกสอนให้เข้าใจจำนวนจากสิ่งต่างๆ รอบตัว เช่น ขนม 1 ชิ้น นก 2 ตัว การเพิ่มหรือการลดจำนวนสวนจากภาษาที่ใช้ เช่น "ได้เพิ่มมาอีก" "บินหายไป" เป็นต้น เมื่อเด็กมีความเข้าใจพื้นฐานสิ่งเหล่านี้ได้ถูกต้องแม่นยำแล้วการเชื่อมโยง ไปสู่ความหมายของสัญลักษณ์และการเรียนรู้คณิตศาสตร์ขั้นถัดไปจะเกิดได้อย่าง ต่อเนื่องถูกต้องตามขั้นตอน

นอกจากนี้ การที่เด็กในวัยดังกล่าวเริ่มเข้าสู่ระบบโรงเรียนมากขึ้น พ่อแม่ควรให้ความสนใจกับทักษะทางที่จะช่วยทำให้เด็กสื่อสารกับเพื่อนๆ หรือคนอื่นๆ ได้อย่างเหมาะสมตามวัยด้วย หากสังเกตได้ว่าเด็กบางคนมี พัฒนาการในการใช้ภาษาเพื่อสื่อสารกับคนอื่นได้ไม่ดีนัก ความเอาใจใส่และช่วยส่งเสริมเพื่อฝึกทักษะด้านนี้อย่างต่อเนื่อง จะช่วยลดปัญหาทางสังคมหรืออารมณ์ให้แก่เด็กได้ในช่วงวัยต่อๆ ไป

โดย นิชรา เรืองดารกานนท์

                                                               

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น