วันเสาร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2555

การบันทึกประจำวัน

ประจำวันที่ 14 กันยายน 2555

อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มที่ยังไม่ได้ร้องเพลง ออกมาร้องเพลงให้ครบ 

ต่อมาอาจารย์ให้นักศึกษาออกมาเล่านิทานโดยใช้เทคนิคต่างๆ

กลุ่มของดิฉันได้ การเล่านิทานแบบ เล่าไปพับไป

นิทานเล่าไปพับไปเรื่อง น้องนิดอยากไปเที่ยวทะเล






ค้นคว้าเพิ่มเติม

มาดูวิธี "เล่าไปพับไป" เทคนิคเปลี่ยนนิทานให้มีชีวิต




     













ความสุขของ "การอ่าน" อยู่ที่การต่อเติมความคิดจากภาพที่เห็น โดยเฉพาะเด็กเล็ก การที่พ่อแม่อ่านนิทานภาพให้ฟังถือเป็นความสุข และความตื่นเต้นที่ได้เห็นภาพความน่ารักของตัวละคร ไม่ว่าจะคน หรือสัตว์ แต่ในบางครั้งการเล่าให้ฟังอย่างเดียว อาจไม่น่าตื่นเต้นสำหรับเด็กในยุคใหม่นี้เสียแล้ว

     
       วันนี้ ทีมงาน Life and Family จึงมีตัวช่วยในการเล่านิทานให้น่าสนใจมาฝากกัน โดย คุณชัยฤทธิ์ ศรีโรจน์ฤทธิ์ หรือ พี่มู บรรณาธิการสำนักพิมพ์ Hello Kids นักเขียน และนักเล่านิทาน บอกว่า เป็นการเล่านิทานแบบ "เล่าไปพับไป" โดยใช้กระดาษ 1 แผ่นที่ตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสมาพับเป็นรูปต่าง ๆ แล้วเล่าเป็นเรื่องราวประกอบการพับในแต่ละขั้นตอน โดยกระดาษ 1 แผ่น สามารถเปลี่ยนเป็นอะไรก็ได้มากมายตามแต่จิตนาการของพ่อแม่ และสถานที่ที่กำลังเล่า
     
       ยกตัวอย่างเช่น กระดาษสี่เหลี่ยมอาจจะกลายเป็นทะเล ทุ่งนา หรือพอนำมาพับครึ่งให้เป็นรูปสามเหลี่ยมก็เป็นภูเขา ขึ้นอยู่กับจินตนาการ และประสบการณ์ในอดีตที่ผ่านมาของเด็ก โดยตอนจบของนิทาน จากกระดาษสี่เหลี่ยม 1 แผ่นที่เด็กคิดตาม ก็จะถูกเฉลยกลายเป็นรูปร่างต่างๆ สุดมหัศจรรย์
     
       "การเล่านิทานนั้น นอกจากจะเล่าด้วยเสียงอย่างเดียวแล้ว คุณครู คุณพ่อ และคุณแม่อาจใช้ตัวช่วยนี้ให้เด็กได้คิด หรือจินตนาการด้วยตัวเอง ทำให้เด็กตื่นเต้น และสนุกไปกับตอนจบของเรื่องว่ากระดาษ 1 แผ่น จะออกมาเป็นรูปร่างอะไร" นักเล่านิทานเด็กรายนี้บอก
     
       อย่างไรก็ตาม ตัวช่วยนี้ พ่อแม่ทุกคนสามารถนำไปใช้เป็นกิจกรรมเล่าไปพับไปกับลูกได้ ไม่ควรไปกังวลในเรื่องของการพับกระดาษมากจนเกินไป แต่ค่อยๆ เรียนรู้ไปพร้อมๆ กับลูก หรืออาจจะพับกระดาษเป็นตัวรูปสัตว์ไว้ก่อน แล้วนำมาประกอบการเล่า ก็ดูน่าสนใจไม่น้อย
อ.สายใจ เจริญรื่น ผู้เชี่ยวชาญด้านการพับกระดาษ
       ด้าน อ.สายใจ เจริญรื่น ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องการพับกระดาษ 2 มิติ และ 3 มิติบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า หากพ่อแม่เล่า และสร้างนิทานเป็นเรื่องราวจากการพับหน้ากระดาษจนเกิดเป็นรูปร่างต่างๆ เช่น ตัวคน หรือสัตว์ที่อยู่ในนิทาน จะเป็นตัวกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ให้กับลูกน้อยได้เป็นอย่างดี เนื่องจากในบางครั้ง การอ่านอย่างเดียวไม่เพียงพอ เพราะลูกจะได้แต่จินตนาการ แต่หากได้ลงมือประดิษฐ์ตัวละครง่ายๆ ไปพร้อมๆ กับการเล่าของพ่อแม่ด้วยตัวเอง น่าจะทำให้ลูกสนุก และฝึกพัฒนาการด้านอื่นๆ ไปด้วย
       
       "ศิลปะการพับกระดาษ นอกจากพับเพื่อความสนุก และความเพลิดเพลินแล้ว คุณพ่อคุณแม่สามารถนำมาประยุกต์ให้เกิดความสุขประกอบการเล่าให้ลูกฟังได้ด้วย ซึ่งแทนที่จะเล่านิทานให้ลูกฟังเหมือนอย่างเคย ลองเปลี่ยนมาใช้วิธีพับกระดาษประกอบเรื่องดู น่าจะดึงดูดลูกให้ชื่นชอบกับการอ่านไม่น้อย" ผู้เชี่ยวชาญด้านการพับกระดาษกล่าว
       
       สำหรับพ่อแม่ที่สนใจ และอยากจะลองเล่าไปพับไปกับลูก ผู้เชี่ยวชาญท่านนี้แนะนำว่า พ่อแม่ควรศึกษารูปแบบ และวิธีการพับมาก่อน เมื่อมีความรู้เรื่องการพับแล้ว ควรสนุกกับการเล่า และการพับ ไม่ควรไปเครียด หรือกังวลว่าจะพับออกมาไม่สวย หรือเวลาที่ลูกพับไม่ได้ เป็นหน้าที่ของพ่อแม่ที่จะเข้าไปช่วยลูก ซึ่งนับว่าเป็นกิจกรรมครอบครัวที่ดีอย่างหนึ่ง เป็นการร่วมมือกันระหว่างพ่อแม่ลูก สร้างความสัมพันธ์ และความผูกผันระหว่างครอบครัวให้มีมากขึ้น
       
       "การพับกระดาษจะช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อมือ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการฟื้นฟูสภาพการทำงาน และการควบคุมการเคลื่อนไหวของมือ เป็นการออกกำลังอวัยวะส่วนมือ นิ้วมือ และควบคุมสภาพจิตใจให้มีสมาธิได้เป็นอย่างดี" ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการพับกระดาษบอกถึงประโยชน์ของการพับกระดาษ

....................................................
       
   



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น